ต้มมาม่าใน รถไฟฟ้ามาหานะเธอ
จากกระทู้ในพันทิพอะ น่าสนใจดี
ทำไมมาม่าต้องต้ม 3 นาที?
สังเกตว่าภายในเรื่องตัวละครจะมีความสัมพันธ์กับมาม่า 2 ครั้ง คือ ตอนที่พระเอกจะต้มมาม่า
ให้นางเอกกินรองท้องก่อนขึ้นรถแท็กซี่ และตอนที่นางเอกผิดหวังเรื่องพระเอกต้องไปเรียนต่อเมือง
นอก จึงกลับมาต้มมาม่าที่บ้านคนเดียว
หนังกำลังจะบอกอะไรเราหรือเปล่า? ผมว่าเขากำลังจะบอกเรื่องสาระของ ”การรอคอย” และ "ความอดทน"
ครั้งแรกในรถแท็กซี่ นางเอกเปิดกินในขณะที่เพิ่งใส่น้ำร้อนไปแค่ 1 นาที พระเอกก็บอกว่า “ก็ข้างถ้วย เขาเขียนให้รอ 3 นาที” นางเอกก็เถียงว่าชอบกินแบบนี้ เส้นกรอบๆแบบนี้
ถ้าเรามองแบบเปรียบเทียบ ม่าม่ากับความรัก .. เหมือนหนังกำลังบอกว่า ทั่วไปตามสากลโลก ความ
รักมันมีเวลาของมัน การบ่มเพาะเส้นของความรักให้นุ่มพอดี พอเหมาะเข้าปากนั้น ต้องใช้เวลา แม้นาง
เอกอาจจะชอบเส้นกรอบๆ ที่ใช้เวลาน้อย แต่ความรักเป็นเรื่องของคน 2 คน จะตัดสินด้วยความชอบ
เพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ และเวลาอีก 2 ปีที่พระเอกจะไม่อยู่ ก็คือช่วงเวลาที่จะบ่มเพาะความรัก ให้
สามารถกินได้ทั้ง 2 ฝ่ายนั่นเอง
มาม่ามักถูกใช้เป็นตัวช่วยของคนที่ “ไม่มีเวลา” ไม่มีเวลาทำกับข้าว ไม่มีเวลาไปหาอาหารกินข้างนอก
เหมือนในเรื่องนี้ นางเอกคิดว่าตนเอง”ไม่มีเวลา”จะรอพระเอกแล้ว เพราะอายุก็มาก เหงาก็เหงา
กินข้าวคนเดียว แต่จะให้ทำอย่างไร แม้แต่มาม่ายังมีเวลา 3 นาทีของมัน แล้วความรักล่ะ?
จึงมาสู่ตอนที่นางเอกเครียดในการต้มมาม่าคนเดียวที่บ้าน อยากกินเร็วๆแต่อะไรก็ขัดใจไปหมด น้ำก็ไม่
ได้ต้มไว้ ฉีกซองเครื่องปรุงก็ลำบาก เนื่องจากความ”ใจร้อน” มองแต่”เป้าหมาย” แต่ลืมมอง”ระหว่างทาง”
การจะกินมาม่า ต้องต้มน้ำ ต้องค่อยๆเตรียมเครื่องปรุง เหมือนความรัก หากจะมองแต่เป้าหมายว่า
ฉันกับเขาจะต้องรักกัน แต่ลืมใส่ใจ”ระหว่างทาง” ภาพนั้นคงไม่เกิด
มาม่า ก็เป็นตัวแทนหนึ่งของคนในสมัยนี้ ที่ต้องใช้ชีวิตเร่งรีบ ทุกๆอย่างต้องแข่งกับเวลา จนลืมไปว่า
เรื่องที่ละเอียดอ่อนอย่างความรัก มันเร่งรีบไม่ได้หรอก
สรุปคือ ผมคิดว่า หนังใช้มาม่าสอนเราในเรื่องความรัก ถ้าคิดจะรัก ก็ต้องเรียนรู้ที่จะรอ ต้องอดทน คน
สมัยนี้มักขาดความอดทนครับ แลกเบอร์กันไม่กี่วัน ก็อยากให้อีกฝ่ายเรียกเราว่าแฟนแล้ว น่าจะมองดูว่า
แม้สิ่งที่จะช่วยเราประหยัดเวลามากแค่ไหน อย่างมาม่า มันก็ยังมีเวลาของมัน แล้วกับความรัก ก็เช่นกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น